ยินดีต้อนรับเข้าสู้แหล่งความรู้ เกี่ยวกับนิทานสอนใจและสํานวนสุภาษิตไทย ครับผม

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สำนวนสุภาษิตไทย

                                                                        

ความหมายของสำนวนสุภาษิต

สำนวน เป็นคำกล่าวที่คมคาย กะทัดรัดงดงาม และฟังดูไพเราะจับใจ รวมเนื้อความของเรื่องยาว ๆ ให้สั้นลง เป็นคำกล่าวที่ใช้ถ้อยคำเพียงเล็กน้อย แต่กินความหมายลึกซึ้ง
สุภาษิต หมายถึง คำกล่าวที่ดีงาม เป็นคำสั่งสอนที่มุ่งแนะนำให้ปฏิบัติ ให้ประพฤติดี ประพฤติชอบ หรือให้ละเว้น

เช่น
                                                                           กลิ้งครกขึ้นเขา 
   

สำนวนนี้ มักจะพูดกันว่า เข็นครกขึ้นภูเขา กันส่วนมาก แต่แท้จริง ครก ต้องทำกริยา กลิ้ง ขึ้นไปจึงจะถูก กล่าวคำว่า เข็น แปลว่า เรื่องที่กำลังจะทำหรือจะทำให้สำเร็จบรรลุผลนั้น ยากลำบากแสนเข็ญมิใช่ของที่ทำได้ง่ายนักเปรียบได้กับ การกลิ้งครกขึ้นภูเขาไปสู่ยอดเขา
 
                                                                          
                                                                            กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้
 
                                    
 
 
 
 
สำนวนพังเพยนี้ มาจากการคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน ถั่วเป็นของสุกช้างาสุกเร็วมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้เสียก่อน สำนวนนี้หมายถึงการทำอะไรสองอย่างพร้อมกันหรือทำอะไรสักอย่างที่ไม่รอบคอบ มัวคิดแต่จะได้ทางหนึ่งต้องเสียทางหนึ่งในความหมายอีกแง่ก็แปลว่าการทำอะไรมัวรีรออยู่ ไม่รีบลงมือทำเสียแต่แรกครั้นพอลงมือจะทำ ก็ไม่ทันการเสียแล้วเพราะคนอื่นเขาเอาไปทำเสียก่อน.
                                                                             กำขี้ ดีกว่า กำตด
 

ความหมายว่า ได้ในสิ่งที่เห็นหรือเป็นของได้แน่ ดีกว่าคิดอยากได้ในสิ่งหรือของที่ไม่เห็นเหมือนไม่มีตัวตน การกินการอยู่ใครไม่สู้พ่อ การพายการถ่อพ่อไม่สู้ใคร :สำนวนนี้อธิบายความหมายอยู่ในตัวแล้วแสดงว่า เรื่องกินแล้วเก่งจนไม่มีใครสู้แต่ถ้าเรื่องงานแล้วยอมแพ้ ซึ่งแปลว่าขี้เกียจนั้นเอง.
                                                                                   กินน้าใต้ศอก
 
หมายไปในทางที่ว่าถึงจะได้อะไรสักอย่างก็ไม่เทียมหน้าหรือไม่เสมอหน้าเขา เช่นหญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย ก็เรียกว่า กินน้ำใต้ศอกเขาที่มาของสำนวนนี้ คนในสมัยก่อนอธิบายว่า คนหนึ่งเอาสองมือกอบน้ำมากิน มากิน อีกคนหนึ่งรอหิวไม่ไหวเลยเอาปากเข้าไปรองน้ำที่ไหลลงมาข้อศอก ของคนกอบน้ำกินนั้นเพราะรอหิวไม่ทันใจ.
                                                                         กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา
 
แปลว่าคนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว คิดทำมิดีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อนคนโบราณเอาลักษณะของแมวที่ไม่ดี คือกินแล้วไม่ขี้ให้เป็นที่กลับขึ้นไปขี้บนหลังคาให้เป็นที่สกปรกเลอะเทอะเพราะคนสมัยก่อนต้องการให้หลังคาสะอาดเพื่อรองน้ำฝนไว้กิน


                                                                               แกว่งเท้าหาเสี้ยน


หมายถึงคนที่ชอบทำอะไรเป็นการสอดแทรกเข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นเข้า จนกระทั้งกลาย เป็นเรื่องกับตัวเองจนได้เสมอ เรียกว่าชอบสอดเข้าไปเกี่ยวสำนวนในปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้เป็นว่า แกว่งปากหาเท้า เสียแล้ว เพื่อให้ความชัดเจนขึ้น.
                                                                      ขี่ช้างจับตั๊กแตน



หมายความว่า ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็ก ๆ เท่านั้น เป็นทำนองว่าผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุน หรือให้เป็นการใหญ่โตเลย หรือแปลความหมายสั้น ๆ ทำงานใหญ่เกินตัว
 
หมายความว่า มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่ แต่ไม่สามารถจะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้.
 

เป็นสำนวนหมายถึง คนที่มุ่งหวังอยากจะได้ทีเดียวพร้อม ๆ กันสองอย่าง โดยไม่คำนึงว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำได้หรือไม่ เปรียบได้กับการใช้มือจับปลาตัวเดียวให้มั่นดีกว่าจับด้วยมือเดียวหรือข้างละตัว ซึ่งอาจจะไม่มั่นพอ ทำให้ปลาทั้งสองตัวหลุดตกน้ำไปหมดเลยก็ได้ สำนวนนี้เปรียบเทียบได้กับการที่ผู้ชายเราคิดจะมีภรรยาทีเดียวสองคนโดยวิธีเกี้ยวผู้หญิงสองคนในเวลาเดียวกัน.
 




สำนวนนี้ ใช้เปรียบกับการที่ทำงานอะไรสักอย่างโดยไม่ต้องลงทุน หรือไม่มีทุนจะลงเลย ซึ่งอาจจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ก็ตามเรียกว่าเป็นการลองเสี่ยง หรือใช้ความสามารถของตนเองเป็นหลักใหญ่เข้าทำ.

                                                                               จับแพะชนแกะ


หมายถึง การทำอะไรที่ขาดความเรียบร้อยไม่เป็นกิจลักษณะ คือเอาทางโน้นมาใช้ทางนี้ เอาทางนี้ไปแทนทางโน้น สับสนวุ่นวายไปหมดหรือทำให้ไม่ประสานกันหรือไม่ต่อเนื่องกัน เท่ากับเอาแพะมาชนกับแกะ เพราะแกะเป็นสัตว์ต่างพันธุ์หรือต่างชนิดกัน และไม่เคยปรากฏว่าแพะกับแกะจะมีผู้เคยเอามาชนกันมาก่อน.
                                                                                                                                                    

                                                                           จับปูใส่กระด้ง








โดยสัญชิาตญาณ ปูมักไม่คอยจะอยู่นิ่งเมื่อจับไปวางตรงไหน มันก็พยายามจะไต่ไปไต่มาเพื่อจะหาทางออก หรือคิดหนีไปท่าเดียว เปรียบได้กับคนหรือเด็กเล็ก ๆ ที่ซกซนอยู่ไม่นิ่ง ถึงจะอยู่ในที่บังคับอย่างไรก็จะดิ้นหรือซนเรื่อยไป.



                                                                       สีซอให้ควายฟัง



เป็นสำนวนเปรียบเปรยถึงคนโง่เง่าหรือปัญญาทึบ ซึ่งแม้เราจะพร่ำสอนพร่ำบอกอย่างไรก็ไม่ได้เรื่อง หรือเปรียบได้กับคนที่ไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งสอน หรือคำแนะนำชี้แจงของผู้ที่รู้ทำให้ผู้อุตส่าห์แนะนำต้องเปล่าประโยชน์ หรือเสียเวลาในการไปคอยชี้แนะนำ.

                                                                       น้ำขึ้นให้รีบตัก



เป็นสำนวนสุภาษิตที่หมายถึงว่า เมื่อมีโอกาสหรือได้จังหวะ ในการทำมาหากินหรือช่องทางที่จะทำให้ได้ผลประโยชน์แก่ตนแล้ว ก็ควรจะรีบคว้าหรือรีบฉวยโอกาสอันดีนี้เสีย อย่าปล่อยโอกาสหรือจังหวะเวลาให้ผ่านพ้นไปอย่างน่าเสียดาย สำนวนนี้เอาไปเปรียบกับอีกสำนวนที่ว่า ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม แล้ว หากคุณไม่เข้าใจความหมายก็อาจจะทำให้พะวักพะวงใจอยู่บ้าง เพราะไม่รู้ว่าจะเชื่อสำนวนไหนดี อย่างไรก็ควรดูคำแปลความหมายของอีกสำนวนนั้นเสียก่อน.

                                                              รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี









ถ้ารักวัวก็ให้ผูกล่ามขังไว้ มิฉะนั้นวัวจะถูกลักพาหรือหนีหายไปส่วนรักลูกให้เฆี่ยน ก็หมายถึงให้อบรมสั่งสอนลูกและทำโทษลูกเมื่อผิด.
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น