ความหมายของสำนวนสุภาษิต
สำนวน เป็นคำกล่าวที่คมคาย กะทัดรัดงดงาม และฟังดูไพเราะจับใจ รวมเนื้อความของเรื่องยาว ๆ ให้สั้นลง เป็นคำกล่าวที่ใช้ถ้อยคำเพียงเล็กน้อย แต่กินความหมายลึกซึ้งสุภาษิต หมายถึง คำกล่าวที่ดีงาม เป็นคำสั่งสอนที่มุ่งแนะนำให้ปฏิบัติ ให้ประพฤติดี ประพฤติชอบ หรือให้ละเว้น
เช่น
กลิ้งครกขึ้นเขา
สำนวนนี้ มักจะพูดกันว่า ”เข็นครกขึ้นภูเขา ” กันส่วนมาก แต่แท้จริง ” ครก ” ต้องทำกริยา ”กลิ้ง ” ขึ้นไปจึงจะถูก กล่าวคำว่า ” เข็น ” แปลว่า เรื่องที่กำลังจะทำหรือจะทำให้สำเร็จบรรลุผลนั้น ยากลำบากแสนเข็ญมิใช่ของที่ทำได้ง่ายนักเปรียบได้กับ การกลิ้งครกขึ้นภูเขาไปสู่ยอดเขา
กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้
สำนวนพังเพยนี้ มาจากการคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน ถั่วเป็นของสุกช้างาสุกเร็วมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้เสียก่อน สำนวนนี้หมายถึงการทำอะไรสองอย่างพร้อมกันหรือทำอะไรสักอย่างที่ไม่รอบคอบ มัวคิดแต่จะได้ทางหนึ่งต้องเสียทางหนึ่งในความหมายอีกแง่ก็แปลว่าการทำอะไรมัวรีรออยู่ ไม่รีบลงมือทำเสียแต่แรกครั้นพอลงมือจะทำ ก็ไม่ทันการเสียแล้วเพราะคนอื่นเขาเอาไปทำเสียก่อน.
กำขี้ ดีกว่า กำตด
หมายไปในทางที่ว่าถึงจะได้อะไรสักอย่างก็ไม่เทียมหน้าหรือไม่เสมอหน้าเขา เช่นหญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย ก็เรียกว่า “กินน้ำใต้ศอกเขา” ที่มาของสำนวนนี้ คนในสมัยก่อนอธิบายว่า คนหนึ่งเอาสองมือกอบน้ำมากิน มากิน อีกคนหนึ่งรอหิวไม่ไหวเลยเอาปากเข้าไปรองน้ำที่ไหลลงมาข้อศอก ของคนกอบน้ำกินนั้นเพราะรอหิวไม่ทันใจ.
กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา
แปลว่าคนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว คิดทำมิดีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อนคนโบราณเอาลักษณะของแมวที่ไม่ดี คือกินแล้วไม่ขี้ให้เป็นที่กลับขึ้นไปขี้บนหลังคาให้เป็นที่สกปรกเลอะเทอะเพราะคนสมัยก่อนต้องการให้หลังคาสะอาดเพื่อรองน้ำฝนไว้กิน
แกว่งเท้าหาเสี้ยน
หมายถึงคนที่ชอบทำอะไรเป็นการสอดแทรกเข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นเข้า จนกระทั้งกลาย เป็นเรื่องกับตัวเองจนได้เสมอ เรียกว่าชอบสอดเข้าไปเกี่ยวสำนวนในปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้เป็นว่า ” แกว่งปากหาเท้า ”เสียแล้ว เพื่อให้ความชัดเจนขึ้น.
ขี่ช้างจับตั๊กแตนแกว่งเท้าหาเสี้ยน
หมายถึงคนที่ชอบทำอะไรเป็นการสอดแทรกเข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นเข้า จนกระทั้งกลาย เป็นเรื่องกับตัวเองจนได้เสมอ เรียกว่าชอบสอดเข้าไปเกี่ยวสำนวนในปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้เป็นว่า ” แกว่งปากหาเท้า ”เสียแล้ว เพื่อให้ความชัดเจนขึ้น.
หมายความว่า ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็ก ๆ เท่านั้น เป็นทำนองว่าผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุน หรือให้เป็นการใหญ่โตเลย หรือแปลความหมายสั้น ๆ ” ทำงานใหญ่เกินตัว“
หมายความว่า มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่ แต่ไม่สามารถจะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้.
เป็นสำนวนหมายถึง คนที่มุ่งหวังอยากจะได้ทีเดียวพร้อม ๆ กันสองอย่าง โดยไม่คำนึงว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำได้หรือไม่ เปรียบได้กับการใช้มือจับปลาตัวเดียวให้มั่นดีกว่าจับด้วยมือเดียวหรือข้างละตัว ซึ่งอาจจะไม่มั่นพอ ทำให้ปลาทั้งสองตัวหลุดตกน้ำไปหมดเลยก็ได้ สำนวนนี้เปรียบเทียบได้กับการที่ผู้ชายเราคิดจะมีภรรยาทีเดียวสองคนโดยวิธีเกี้ยวผู้หญิงสองคนในเวลาเดียวกัน.
สำนวนนี้ ใช้เปรียบกับการที่ทำงานอะไรสักอย่างโดยไม่ต้องลงทุน หรือไม่มีทุนจะลงเลย ซึ่งอาจจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ก็ตามเรียกว่าเป็นการลองเสี่ยง หรือใช้ความสามารถของตนเองเป็นหลักใหญ่เข้าทำ.
จับแพะชนแกะ
หมายถึง การทำอะไรที่ขาดความเรียบร้อยไม่เป็นกิจลักษณะ คือเอาทางโน้นมาใช้ทางนี้ เอาทางนี้ไปแทนทางโน้น สับสนวุ่นวายไปหมดหรือทำให้ไม่ประสานกันหรือไม่ต่อเนื่องกัน เท่ากับเอาแพะมาชนกับแกะ เพราะแกะเป็นสัตว์ต่างพันธุ์หรือต่างชนิดกัน และไม่เคยปรากฏว่าแพะกับแกะจะมีผู้เคยเอามาชนกันมาก่อน.
จับปูใส่กระด้ง
โดยสัญชิาตญาณ ปูมักไม่คอยจะอยู่นิ่งเมื่อจับไปวางตรงไหน มันก็พยายามจะไต่ไปไต่มาเพื่อจะหาทางออก หรือคิดหนีไปท่าเดียว เปรียบได้กับคนหรือเด็กเล็ก ๆ ที่ซกซนอยู่ไม่นิ่ง ถึงจะอยู่ในที่บังคับอย่างไรก็จะดิ้นหรือซนเรื่อยไป.
สีซอให้ควายฟัง
เป็นสำนวนเปรียบเปรยถึงคนโง่เง่าหรือปัญญาทึบ ซึ่งแม้เราจะพร่ำสอนพร่ำบอกอย่างไรก็ไม่ได้เรื่อง หรือเปรียบได้กับคนที่ไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งสอน หรือคำแนะนำชี้แจงของผู้ที่รู้ทำให้ผู้อุตส่าห์แนะนำต้องเปล่าประโยชน์ หรือเสียเวลาในการไปคอยชี้แนะนำ.
น้ำขึ้นให้รีบตัก
เป็นสำนวนสุภาษิตที่หมายถึงว่า เมื่อมีโอกาสหรือได้จังหวะ ในการทำมาหากินหรือช่องทางที่จะทำให้ได้ผลประโยชน์แก่ตนแล้ว ก็ควรจะรีบคว้าหรือรีบฉวยโอกาสอันดีนี้เสีย อย่าปล่อยโอกาสหรือจังหวะเวลาให้ผ่านพ้นไปอย่างน่าเสียดาย สำนวนนี้เอาไปเปรียบกับอีกสำนวนที่ว่า ” ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม” แล้ว หากคุณไม่เข้าใจความหมายก็อาจจะทำให้พะวักพะวงใจอยู่บ้าง เพราะไม่รู้ว่าจะเชื่อสำนวนไหนดี อย่างไรก็ควรดูคำแปลความหมายของอีกสำนวนนั้นเสียก่อน.